วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

Google Plus กู เกิล พลัส มีอะไรดี

Google Plus กู เกิล พลัส
www.google.com เป็นเว็บไซต์ยอดนิยมของโลกที่มีผู้คนนิยมเข้าใช้มากเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนในประเทศไทยก็คงจะมีน้อยคนนักที่ไม่รู้จัก ประชากรไทยปัจจุบันมีประมาณ 64 ล้านคนเศษๆ คงประมาณน้อยมากที่ไม่ทราบ Google คืออะไร
                Google เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มคนยุคปัจจุบัน โดย Google เป็นแหล่งข้อมูลที่มากที่สุด เป็น Search Engine ที่ดีที่สุด มี  E-mail ไว้บริการฟรี และสามารถสนองความต้องการได้อย่างหลากหลาย แต่มาถึงวันนี้สถานการของ Google เริ่มมีคู่แข่งที่น่ากลัวอย่าง Facebook ที่เป็นน้องใหม่วัยรุ่นที่มาแรง แรงมากจน Google เกิดความกลัวว่าถ้าปล่อยในสถานการณ์เป็นอย่างนี้อีกไม่นาน Facebook คงจะเป็นผู้นำที่มีผู้นิยมเข้ามาใช้มากกว่า Google แน่นอน เพราะความสะดวกง่ายต่อการใช้ การเชื่อมโยงกับข้อมูลกับเว๊บไซต์ เว๊บบล๊อก และ Webbord ทำได้ดีกว่า จึงนับวันจะมีผู้เข้ามาเป็นสมาชิกมากขึ้นเกือบจะแซงหน้า Google อีกไม่กี่วัน

                ดังนั้น Google ย่อมไม่ต้องการให้สถานการณ์ที่เหมือนจะฝันร้ายกลายเป็นจริงขึ้นมา โดยทาง Google จึงระดมสมองทีมงานหากลยุทธ์มาสู้กับ Facebook ให้ได้ ในที่สุด google ก็สร้างเว๊บไซต์ Social Network ตัวใหม่ล่าสุดออกมา เรียกว่า Google+ หรือ Google plus โดยเจ้า Google+ นี้ออกมาสำหรับการเป็น Social Network โดยตรง ถ้าเป็นภาษาทางธุรกิจเขาเรียกว่า กลยุทธ์ตาต่อตา ฟันต่อฟัน คือ Google+ มาแข่งขันกับ Facebook แบบซึ่งหน้า ใครดีใครอยู่กันเลยทีเดียว แน่นอนสิ่งใหม่ๆ ย่อมจะได้เปรียบสิ่งเก่าๆ เสมอ เพราะได้ศึกษาจุดด้อยของคู่แข่งมาปรับเป็นจุดแข็งของตน Google เขาเข้าใจอย่างนั้น ส่วนจะดีกว่า เจ๋งกว่า สนองตอบความต้องการของผู้บริโภคได้มากกว่า Facebook หรือเราก็มาพิจสูจน์กัน  
                Google+ หรือ Google plus (กูเกิลพลัส) สร้างขึ้นมาสำหรับการเป็น Social Network ส่วนมาก 80 เปอร์เซ็นต์ จะมีลักษณะคล้ายๆ การบริการของ Facebook เพียงแต่อีก 20 เปอร์เซ็นต์ อาจจะปรับใช้ได้ดีกว่า Facebook หลายคนสนใจและน่าลองใช้สำหรับผู้ที่ชอบของเล่นใหม่ๆ หรือผู้ทำการตลาดทาง Social Network น่าจะเป็นทางเลือกในการทำธุรกิจได้อีก ก็มาลองศึกษากันดูว่าจะสนองตอบความต้องการมากน้อยเพียงใด
                Google+ เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2554 นี้เอง ตอนนี้มีสมาชิกส่วนมากจะอยู่ในแถบยุโรป มีประมาณ 20 ล้านคนแล้ว แต่ถ้าในเมืองไทยจะแรงเท่า Facebook หรือไม่ก็น่าศึกษา

         Google+ หรือ Google plus (กูเกิลพลัส) หมายถึง โครงการของ Google ที่นำเสนอเพื่อสนองตอบเกี่ยวกับ Social Network อีกรูปแบบหนึ่ง ลักษณะการให้บริการของ Google plus เป็นลักษณะ Social Network คล้ายกับ Facebook แต่มีการปรับรูปแบบให้สามารถตอบสนองและอำนวยความสะดวกได้มากกว่า เป็นการบริการใหม่ที่ทาง Google  คาดว่าจะมาแข่งขันกับ Facebook แต่จะเป็นที่นิยมมากหรือสู้กับ Facebook ได้มากน้อยเพียงใดหรือจะประสบความสำเร็จตามที่คาดการไว้หรือไม่ ก็ต้องพิสูจน์กันต่อไป เพราะยังไม่สามารถวัดผลได้ เพราะอยู่ในช่วงที่กำลังเจริญเติบโต    หลังจากได้รับ Invite (เชิญเข้าร่วม) ทาง E-mail แล้วจะพบปุ่มสี่เหลี่ยมด้านขวามือ ตรงคำว่า   เชิญเข้าร่วม  พร้อมกับกดลงไปเพื่อเข้าร่วม ก็แสดงว่าตอบรับการเข้าร่วมสมบูรณ์แล้ว หลังจากนั้นครู่ต่อมาระบบจะเข้าสู่หน้า Google+ ให้ผู้ใช้ทำการตั้งค่าต่างๆ เพื่อแสดงตัวตนของผู้ใช้และเราจะพบกับสัญลักษณ์ที่เป็นเมนูปุ่มต่างๆ บน Google plus (Google+) ดังนี้
1. สตรีม (Stream)
        สตรีม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์รูปบ้าน โดยสตรีมนี้จะทำหน้าที่เสมือนทุกอย่าง อย่างที่อยู่ในบ้าน โดยสามารถเขียนบรรยายเรื่องต่างๆ ที่ต้องการเขียนลงไป แม้แต่อาจเป็นภาพ เพิ่มวีดิโอ แชร์ลิงค์ ส่งภาพ ได้ตลอดเวลาและยังสามารถเห็นการเคลื่อนไหว ข้อความและการกระทำต่างๆ ของแวดวงเพื่อนทั้งหมดได้ตลอดเวลา หรือถ้าต้องการจะพูดคุยกับใครก็กด +1 จะสามารถพูดคุยกันได้คล้ายๆ กับการ MSN นั้นเอง
หน้าสตรีม (Stream) จะมีเมนูหลายรายการ เช่น ปุ่มเพิ่มรูปภาพ (เพิ่มรูปภาพ สร้างอัลบั้ม และเพิ่มรูปจากการถ่ายจากโทรศัพท์มือถือ เพิ่มวีดีโอ (อัพโหลดวีดิโอ เพิ่มจาก YOU TUBE และเพิ่มจากโทรศัพท์มือถือ) เพิ่มลิงค์ และการเพิ่มตำแหน่งในพื้นที่
  2. ภูเขา (Mountain)
     สัญลักษณ์ภูเขา ส่วนนี้เป็นกล่องที่เก็บรวบรวมภาพเพื่อนที่อยู่ในแวดวงของเราไว้ทั้งหมด เป็นแหล่งรวมรูปทุกชนิด ทุกประเภท ที่แวดวงเพื่อนทำการโพสต์เข้ามา สามารถเป็นแหล่งข้อมูลได้เป็นอย่างดีในการทำธุรกิจได้อีกทางหนึ่ง  รูปภูเขา เป็นแหล่งรวมรูปภาพของบรรดาแวดวงของเราทั้งหมด รูปภาพจากแวดวงของเราที่เพิ่มเข้ามารูปภาพจากโทรศัพท์ของเรา รูปภาพของเราเอง อัลบั้มของเรา อีกทั้งยังสามารถอัพโหลดรูปภาพใหม่ตามความต้องการได้อีกด้วย
   3. โปรไฟล์ (Profile)
    สัญลักษณ์โปรไฟล์ ในส่วนนี้จะเป็นรูปเงาคนในวงกลม จะเป็นรูปส่วนตัวของผู้ใช้ที่ต้องการใส่ลงไป สำหรับแสดงความเป็นตัวตน ให้ปรากฏในโลกออนไลน์ เป็นการบ่งบอกสิ่งที่ต้องการโฆษณา เป็นตัวแทนในการสื่อสารพูดคุย และยังเป็นแหล่งเก็บข้อมูล รูปภาพ วีดิโอ ลิงค์ต่างๆ โดยทุกอย่างนี้สามารถใช้เป็นโปรไฟล์เผยแพร่ส่งต่อไปยังกลุ่มเพื่อนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ สัญลักษณ์โปรไฟล์ (รูปคน) หน้านี้จะประกอบด้วย เมนูย่อย เช่น ปุ่มให้โพสต์ข้อความ ปุ่มข้อมูลเกี่ยวกับเรา รูปภาพ วีดิโอ และปุ่ม +1
  4. แวดวง (Circles) 
     สัญลักษณ์แวดวง จะเป็นรูปวงกลมสีที่ทับซ้อนกัน โดยนี้ส่วนที่จะมีการแบ่งกลุ่มต่างๆ ที่อยู่ในแวดวงของเราได้ตามต้องการ จะมีการโชว์ภาพแทนเพื่อนทุกคนที่อยู่ในแวดวง เช่น ทุกคนที่ติดต่อกับคุณ คุณติดต่อกับเขา คนที่คุณเพิ่มเข้ามา และคนที่คุณเชิญเขามาเป็นเพื่อนในแวดวง โดยเราสามารถกำหนดแวดวงตามต้องการได้ โดยการลากแต่ละคนมาอยู่ในแวดวงความสัมพันธ์ที่กำหนดได้ เช่น เพื่อน คนที่รู้จัก (Aequaintances) ครอบครัว (Family) ผู้ที่เรากำลังติดตาม (Following)
ปุ่ม Circles (แวดวง) หมายถึง ฟีเจอร์สร้างกลุ่มเพื่อน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน สื่อสารกัน โดยสามารถกำหนดกลุ่มได้ เช่น กลุ่มเพื่อนสนิท กลุ่มเพื่อนทั่วๆ ไป กลุ่มครอบครัว โดยการกำหนดกลุ่มนั้นสามารถทำได้ เกิน 200 คน
การกำหนดแวดวง (Circles) ตามต้องการนั้น เพื่อให้เลือกแชร์ข้อมูลเฉพาะกลุ่มที่ต้องการเท่านั้น เพราะบางครั้งก็ต้องการเป็นการส่วนตัว เพราะบางครั้งความเป็นส่วนตัวก็ไม่ต้องการให้คนทั่วไปทราบ จุดนี้จึงเป็นจุดเด่นอีกแบบหนึ่งที่เหนือชั้นกว่า Facebook 
5. Sparks
      Sparks หมายถึง เป็นฟีเจอร์ระบบที่ใช้ในการกำหนดส่วนต่างๆ เพื่อเข้าไปหาสิ่งต่างๆ ที่สนใจดู ได้ข้อมูลจะมีการแบ่งเป็นกลุ่ม (Group) เช่น กลุ่มดารา กลุ่มแฟชั่น กลุ่มนักดนตรี โดย Sparks จะดึงข้อมูลเรื่องราวข่าวสาร ที่เพื่อนคนอื่นสนใจในเรื่องเดียวกัน มาจัดเรียงเนื้อหาให้อ่านและค้นคว้าได้ทันที และทั้งยังระบุสิ่งที่ชอบเป็นพิเศษได้ที่ Feed จากนั้นเราก็กด Like เมื่อใครในกลุ่มมีการอัพเดทข้อมูลภายในกลุ่มสมาชิกเดียวกันก็จะเห็นและทราบข้อมูลถึงกันหมด แล้วยังสามารถแสดงผลรองรับข้อมูลนั้นแปลงเป็นภาษาได้มากกว่า 40 ภาษาทั่วโลก


6. Hangouts (แฮงค์เอาท์)
เป็นฟีเจอร์ที่ Google พัฒนาขึ้นมาให้อำนวยความสะดวกในเรื่องการพูดคุยกันเป็นกลุ่มๆ อย่างไม่เป็นทางการ ถ้าใครว่างก็สามารถเข้ามาคุยกันได้ โดยพูดคุยพร้อมกันได้สูงสุด 10 คน ฟีเจอร์นี้ในอนาคตน่าจะโดดเด่นมากขึ้นเรื่อยๆ ในการปรับประยุกต์ใช้กับงานธุรกิจหรืองานทั่วๆ ไปได้เป็นอย่างดี
                Hangouts หมายถึง ฟีเจอร์ที่สนับสนุนการสนทนาแบบกลุ่ม ด้วยวีดิโอแบบหลายๆ คน โดยเป็นลักษณะแบบไม่เป็นทางการ โดยจะเป็นรูปแบบการใช้การประกาศว่า ว่างและอยากเล่นใน hangouts ในกลุ่มเพื่อนก็จะทราบและถ้าว่างก็สามารถเข้ามาคุยกันได้ และยังสามารถกำหนดกลุ่มพูดคุยได้อีกด้วย โดยเป็นปุ่มที่แสดงให้คนอื่นทราบได้ว่าเรากำลังทำอะไร ว่างหรือจะเดินทางไปทำอะไร เมื่อไหร่ เมื่อโพสต์ออกไปทุกคน

จะทราบและเห็นทั้งหมด ซึ่งเราสามารถเชิญชวนผู้ที่สนใจออกไปสนุกกับเรา คือพูดง่ายๆ สามารถนัดพบกันได้กับคนที่ต้องการพบกัน
                                                                               
7. Huddle (ฮัทเดิล)
Huddle หมายถึง ฟีเจอร์ตอบสนองการพูดคุยกันเป็นกลุ่ม (Chat) โดยมีคุณสมบัติที่คุยเป็นกลุ่ม (Gang) โดยมีลักษณะคล้ายๆ กับการให้บริการของ Blackberry Messenger ที่สนทนากันเป็นกลุ่ม (Group Messaging) แต่ในช่วงแรกสามารถแชทได้ โดยการพูดคุยผ่าน Application ไปยังโทรศัพท์มือถือ 
นับว่าฟีเจอร์ของ hangouts นับว่าเป็นจุดเด่นที่น่าจะแรงของ Google+ เพราะสามารถประยุกต์ใช้กับบุคคลทั่วไป จนไปถึงองค์กรธุรกิจ ในการเข้าประชุมพร้อมกันได้สูงสุด ครั้งละ 10 คน และที่สำคัญ คือ เป็นบริการฟรี ซึ่งปัจจุบันมีการบริการแบบเดียวกัน คือ ของ Skype ที่ต้องจ่ายเงินในราคาแพงแต่ Google+ มีบริการให้ฟรี ครับ (ยังมีต่อ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น