วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

ตัวอย่าง การเขียนหนังสือวิชาการ ที่สำนักพิมพ์ต้องการ






ตัวอย่าง ต้นฉบับงานเขียน  หนังสือวิชาการ
ส่ง ผลิต โดย สำนักพิมพ์  วิตตี้กรุ๊ป จำกัด

การตลาดอิเล็ทรอนิกส์
Electronic Marketing
    

อิทธิวัฒน์  รัตนพองบู่




คำนำ

                สังคมโลกทุกๆ วินาทีจะมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การทำธุรกิจจะต้องมีการปรับตัว และพัฒนาให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป  สิ่งจำเป็นอีกอย่างคือเรื่องของเทคโนโลยี การทำธุรกิจในยุคนี้หรือ ในอนาคต คงปฏิเสธเรื่องของเทคโนโลยีไม่ได้ การทำธุรกิจย่อมอาศัยเครื่องทางอิเล็กทรอนิกส์  ในการดำเนินกิจกรรมทางการตลาด
                ดังนั้นการทำการตลาด ต้องอาศัยเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ มากขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการทำงาน การติดต่อสื่อสารในกระบวนการต่าง ๆ เช่น การโฆษณาสินค้า   การส่งเสริมการกระจายสินค้า การรับคำสั่งซื้อ  การหาข้อมูลการพัฒนา สินค้า และประโยชน์อีกมากมาย ที่จะทำให้นักการตลาด ผู้ประกอบการทำงานสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น อันจะนำไปสู่การลดต้นทุน และได้กำไรมากขึ้น ดังเราสามารถสังเกตได้จาก การส่งข้อมูล การติดต่อ การประสานงาน การดำเนินธุรกิจส่วนมากจะนำเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์มาใช้มากขึ้น ส่งผลต่อผลประกอบการที่มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว
            ขอขอบคุณทางสำนักพิมพ์ และผู้ที่มีพระคุณที่มีส่วนร่วมผลักดันให้หนังสือเล่มนี้สำเร็จออกมา อันจะเป็น ประโยชน์ให้แก่นักเรียน นักศึกษา ในสถาบันการศึกษา และผู้ที่สนใจ ในเรื่องการตลาดอิเล็กทรอนิกส์  หวังว่าหนังสือเล่มนี้คงเป็นส่วนหนึ่งที่เติมเต็มการศึกษา ค้นคว้าในเรื่องการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ได้บ้างพอสมควร

อิทธิวัฒน์  รัตนพองบู่










สารบัญ

บทที่  1                  การตลาดอิเล็กทรอนิกส์1.  ความหมายของการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
2.  
ลักษณะทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
3.  ส่วนผสมการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
บทที่  2                  รูปแบบการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
                               
2.1  ระบบสนับสนุนการตลาด
2.2   ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
2.3  อีเบย์
บทที่  3                  อินเทอร์เน็ตกับการตลาด
 
1.  ความหมายของอินเทอร์เน็ต
      1.1 อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
                1.2 อินเทอร์เน็ตกับการโฆษณา
2.  อินเทอร์เน็ตกับการตลาด      2.1 สินค้าบนอินเทอร์เน็ต
        2.2  ลูกค้าในระบบอินเทอร์เน็ต
         2.3  ร้านค้าบนอินเทอร์เน็ต
         2.4  เครื่องมือการทำงาน
         2.5  เว็บไซต์ขายสินค้า
         2.6   สิ่งสำคัญของการประกาศขายสินค้า
         2.7   กฎระเบียบของการขายสินค้า
         2.8   การลงประกาศขายสินค้า
                  2.8.1 สมัครสมาชิกก่อนลงประกาศขาย
                  2.8.2  ลงประกาศขายสินค้าประเภทสมาชิก
                  2.8.3  ตรวจสอบหลังลงประกาศขายสินค้า
            บทที่  4                  การค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ 
                4.1  การค้าปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์  4.2 กระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
                                                4.3  กลุ่มลูกค้าในระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์
                                4.4   รูปแบบการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์                          
บทที่  5                  พฤติกรรมผู้บริโภค
                               
5.1   ความหมายพฤติกรรมผู้บริโภค
5.2    ประเภทของผู้บริโภค
5.3    หลักพิจารณาพฤติกรรมผู้บริโภค
5.4    รูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภค
5.5    อิทธิพลที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค
5.6    ลำดับขั้นในการตัดสินใจ
5.7    ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ
บทที่  6                  กลยุทธ์การตลาดอิเล็กทรอนิกส์
6.1   กลยุทธ์การตลาด
6.2   การวางแผนกลยุทธ์
6.3   รูปแบบกลยุทธ์
6.4   กลยุทธ์การโปรโมทเว็บไซต์
บทที่  7                  จรรณยาบรรณและกฎหมายอิเล็กทรอนิกส์
1. ความหมายของจริยธรรมทางการตลาด
2.  ความสำคัญของจริยธรรมทางการตลาด
3.  กฎหมายอิเล็กทรอนิกส์





บทที่ 1
การตลาดอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Marketing)


เนื้อหา1.     ความหมายของการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
2.  
  ลักษณะทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
3.    หลักการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
4.           ประโยชน์ของการตลาดอิเล็กทรอนิกส์


วัตถุประสงค์
1.     สามารถอธิบายความหมายทางการตลาดได้
2.     อธิบายลักษณะทางการตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ ได้
3.     อธิบายลักษณะสินค้าในตลาดอิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ ได้
4.     เข้าใจวงจรการค้าในระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้
5.     สามารถอธิบายเครื่องมือในการทำตลาดอิเล็กทรอนิกส์ได้












การตลาดอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Marketing)
                         การทำธุรกิจในยุคก่อนหรือในอดีตเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้ากันโดยกำหนดเป็นสิ่งของที่สามารถจับต้องได้ เช่น นำข้าวสารมาแลกกับหมู การนำปลามาแลกกับเกลือ ต่อมาการทำการตลาดเจริญมากขึ้นก็มีการกำหนดระบบเงินตรา กำหนดราคาแลกเปลี่ยนสินค้า กำหนดอัตราการแลกเปลี่ยนเป็นตั๋วเงิน ทำให้การค้าขายสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น โดยเฉพาะการตลาดการแลกเปลี่ยนก็กำหนดสถานที่ค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันเรียกว่า ตลาด ตลาดเป็นแหล่งรวมของสินค้านานาชนิดมีการทำกิจการแลกเปลี่ยนกันในสถานที่กำหนด หลังจากแลกเปลี่ยนตกลงซื้อขายกันเสร็จสิ้นก็ทำการขนย้ายสินค้าตามสะดวก จนตลาดสินค้ามีความเจริญมากขึ้นและขยายตลาดออกไปเรื่อยๆ ตามสถานที่ต่างๆ
                         ต่อมาการค้าขายมีความเจริญมากขึ้น และขยายขอบเขตมากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำการตลาดมากขึ้น จึงทำให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการตลาดนำระบบแนวคิดทางด้านการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Marketing เข้ามาใช้ การนำ E- marketing มาใช้นั้นครั้งแรกยังไม่กว้างขวางมากนัก แต่พอมาถึงยุคปัจจุบันทำให้องค์กรหรือบุคคลในด้านการค้าหันมาสนใจและนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ดังเราสามารถเห็นโดยทั่วไปที่เรียกว่า Website ต่างๆ ที่นำสินค้ารายการต่างๆ มาแสดงหน้า website เพื่อทำการโฆษณาและเสนอขายอย่างมากมาย โดยอาศัยขบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วยในการทำการตลาด เช่น ระบบ E-mail webbolg website และปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมคือ Facebook
                                
                                                    รูปที่ 1.1  เว็บไซต์ http://www.sanook.com/
1. ความหมายของการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
            การตลาด (Marketing) หมายถึง   กระบวนการ หรือวิธีการที่จะนำสินค้าและบริการจากแหล่งของผู้ผลิต ไปสู่ผู้บริโภคคนสุดท้าย และสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ สามารถตอบสนองควมพึงพอใจ และสร้างความประทับใจผู้บริโภคได้มากที่สุดโดยทำกำไรสูงสุดให้แก่องค์กร
การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง เทคนิควิธีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการไปยังผู้บริโภค โดยอาศัยอุปกรณ์เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้ามาสนับสนุน โดยเฉพาะเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ และการบริหารจัดการ โดยอาศัยเครือข่ายเทคโนโลยี ที่เรียกกันว่า Network System เข้ามาประสมประสานกันอย่างเป็นระบบ โดยโครงข่ายโทรคมนาคม (Telecomunication Network)
การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Marketing) คือการทำกิจกรรมทางการตลาดโดยประสมประสานกับระบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สามารถสื่อสารและเสนอผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้เข้าใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าจะสามารถสนองความต้องการได้ให้มากที่สุด โดยอาศัยรูปแบบที่รวดเร็วสะดวกของระบบอิเล็กทรอนิกส์เผยแพร่ไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงอย่างกว้างขวาง
การตลาดทางอีเล็กทรอนิกส์มีรายละเอียดและธรรมชาติที่แตกต่างกับการตลาดแบบเดิมมาก แต่ก็ยังอาศัยวิธีการตลาดแบบเดิมมาเป็นพื้นฐานในการดำเนินการ การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะพิเศา มีเงื่อนไขเพิ่มมากขึ้น และยังมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอย่างรวเร็ว รวมทั้งเทคนิค อุปกรณ์ เทคโนโลยี สิ่งที่สำคัญก็ต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภค ทันต่อการแข่งขันที่รุนแรง  เพราะคู่แข่งมีการพัฒนารูปแบบในการทำการตลาดตลอดเวลา

รูปที่ 1.2 ลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายการตลาดอิเล็กทรอนิกส์

การทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ เป็นกิจกรรมที่เรียกว่า มีการสื่อสารแบบ 2 ทาง (2 - way Communication )  หมายถึง กิจกรรมที่นำเสนอออกไปยังกลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มเป้าหมายนั้นทำกิจกรรมตอบกลับมา เช่น นักการตลาดส่ง SMS ไปหาลูกค้าว่าสามารถดาวน์โหลดริงโทนเพลงดังจากละครได้ฟรี ที่หมายเลข 5488  แล้วลูกค้าที่สนใจก็จะส่ง SMS ไปโหลดเพลงดังกล่าวมาไว้ใช้ในมือถือ รูปแบบนี้ก็เป็นวิธีการสื่อสาร แบบ 2 ทางที่เห็นโดยทั่วไป และต้องสามารถที่จะสื่อสารกับผู้บริโภคได้ตลอดเวลา (24 hrs / 7 days) เช่น เราสามารถจ่ายค่าโทรศัพท์ได้ตลอดเวลาที่ร้านเซเวนอีเลเว่น และจะต้องเป็นการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดย อาศัยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์มาทำการตลาด ไม่ว่าจะเป็น อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ และยังสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน Niche Market ต้องเป็นกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้แล้วอย่างชัดเจน เช่น บริษัท แกรมมี่ ทำธุรกิจเกี่ยวกับเพลงลูกทุ่ง แนวหมอลำ  ต้องการขยายตลาดโดยเจาะลูกค้าที่ชอบเพลงประเภทนี้ที่รัฐลอสแองเจลลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีพฤติกรรมที่ชอบดาวน์โหลดเพลงบนอินเทอร์เน็ต จึงเปิดเว็บไซต์เกี่ยวกับเพลงลูกทุ่ง แนวหมอลำ ขึ้นมา โดย สามารถโหลดเพลงมาฟังได้  แต่ต้องสมัครเป็นสมาชิกสามารถก่อน  และการบริการอื่นๆ ได้ ตามสิทธิที่จะสร้างความพึงพอใจจากลูกค้า  การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการทำงานไม่มีวันหยุด นอกจากเกิดปัญหา เช่น ไฟดับ หรือ เครื่องมือ อเล็กทรอนิกส์นั้น อยู่ในสถานะ ที่ไม่พร้อมในการใช้งาน ปัจจุบันนี้ ถ้ามีคนกล่าวถึง E - Marketing เราก็จะต้องนึกถึงอินเตอร์เน็ตทันที  เพระสิ่งนี้ เป็นเครื่องมือชนิดเดียวที่เราเห็นได้ว่าสามารถอธิบาย เหตุผล ในเรื่องการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ได้ดีที่สุด ซึ่งรูปแบบการทำตลาด ผ่านอินเตอร์เน็ตนั้น เราเรียกว่า การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) ซึ่งตลาดประเภทนี้กำลังมาแรง เป็นที่นิยมในเมืองไทยในปัจุบัน และยังเป็นวิธีการหาเงิน หารายได้ของคนที่สนใจท่องอินเทอร์เน็ต อีกด้วย
                การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Marketing) เป็นรูปแบบการทำการตลาดที่ค่อนข้างใหม่กับคนไทยและยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควรเพราะยังขาดความรู้ในการทำการตลาดอย่างถูกต้องหรืออาจจะทำตลาดค่อนข้างลำบาก กลุ่มผู้บริโภคส่วนมากยังไม่นิยมมากนักถ้าเทียบกับต่างประเทศ ทั้งๆที่กลุ่มผู้ใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มจำนวนและปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ แต่การตัดสินใจซื้อสินค้าตาม website ต่างๆ นั้น ยังมีปริมาณต่ำอาจจะยังไม่เข้าใจและยังไม่เชื่อถือในความซื่อสัตย์ของผู้ขายก็มีส่วนทำให้ตลาดยังไม่เติบโต
                         Electronic Marketing กับ Marketing Mix
                         ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) เดิมของการทำกิจกรรมทางการตลาดที่สามารถนำมาทำการตลาดร่วมกับ Electronic Marketing อาจสรุปได้ดังนี้
                         1. Product ผลิตภัณฑ์ของสินค้ายี่ห้อต่างๆ เดิมการนำเสนอขายในหน้าร้านทั่วไปผู้บริโภคสามารถหยิบเลือกได้ สัมผัสได้ แต่การนำเสนอบน website ไม่สามารถสัมผัสได้ สัมผัสได้เฉพาะภาพและรูปทรง รูปแบบเท่านั้น ส่วนดีคือ ง่ายและสะดวกในการเลือกค้นหาได้ง่าย มีหลายแหล่งหลายรูปแบบที่นำไปเป็นข้อมูลในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่พอใจมากที่สุดของลูกค้า
                         2. Price ส่วนราคาของสินค้าที่แสดงบนหน้า Website นั้น สามารถเปรียบเทียบราคา ความแตกต่างๆ ได้หลายราคาและง่ายกว่าการสั่งซื้อ สะดวกสบายในการจ่ายชำระค่าสินค้า และสินค้าส่งมาถึงที่บ้านหรือที่ทำงานอย่างรวดเร็ว ทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการเดินหาซื้อสินค้าตามร้านค้าทั่วไป
                         3. Place ส่วนที่จัดจำหน่าย เป็นร้านค้าบน Website ทำให้เจ้าของร้านบริหารจัดการร้านค้าปรับปรุง แก้ไขให้ทันสมัยและตรงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ลูกค้าเข้ามาชมสินค้าได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และยังมีสินค้าให้เลือกอย่างมากมาย ที่สำคัญเจ้าของร้านค้าไม่ต้องมีโกดังเก็บสินค้าไว้เอง ถ้ามีลูกค้าสั่งสินค้าเข้ามาก็สามารถส่งรายการสินค้านั้นไปให้ร้านค้าหรือผู้ผลิตส่งให้ลูกค้าได้ทันที
                         4. Promotion การส่งเสริมการขายนั้น การทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ จะทำได้อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ เพิ่มสีสัน และรูปแบบตามต้องการได้ตลอดเวลา แถมยังสามารถทำลิงค์ ของร้านไปฝากไว้ตาม Website ต่างๆ ได้ การทำ Promotion ร้านค้าหรือการโปรโมทสินค้าโดยอาศัยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่กำลังมาแรงเป็นที่นิยมมากในยุคนี้ เช่น ระบบสังคมเน็ตเวิกส์ (Social Marketing) โดยอาศัย E-mail MSN Hi5 หรือ Facebook เข้ามาช่วยในการโฆษณาสินค้าและกิจกรรมทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับต้นทุนที่ต่ำแถมเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วในปริมาณที่กว้างไกลและกว้างขวางทั่วทุกมุมโลก
รูปที่ 1.3  เว็บไซต์ขายสินค้า
2. ลักษณะการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
1.    ตลาดแบบนี้เป็นการทำตลาดแบบเฉพาะเจาะจง (Niche Market) เพราะลูกค้าที่เปิดเว็บไซต์มีเป้าหมายในใจอยู่แล้วว่าต้องการอะไร ต้องการหาข้อมูล  ต้องการจะซื้อสินค้าที่ต้องการ ก็จะคีย์ ข้อความที่ต้องการลงไป หรือเข้าไปในเว็บไซต์สินค้าประเภทนั้นเลย เช่น ผู้ต้องการซื้อเสื้อผ้า ก็จะเข้ามาดูเว็บที่นำเสนอ สินค้า ประเภท เสื้อผ้า
2.    เป็นการแบ่งส่วนลูกค้าตามพฤติกรรม (Behavioral Segmentation) โดยพิจารณาจากพฤติกรรม ในการบริโภค อุปโภค ของลูกค้า ว่าสนใจต่อสินค้าหรือบริการใด  และวิถีชีวิตของลูกค้า ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมของลูกค้า  การเสนอสินค้าก็จะตรงกับลูกค้า  เช่น พฤติกรรม ผู้ชาย กับผู้หญิงมีรสนิยม แต่งกันอย่างไร การนำเสนอสินค้า  ต้องคำนึงถึงเงื่อนไข นั้นด้วย
3.    การตลาดแบบตัวถึงตัว (Personalize Marketing หรือ P - Marketing)  กิจกรรมการตลาดวิธีนี้ลูกค้าจะกำหนดรูปแบบการรับบริการของสินค้าและบริการได้ตามความต้องการของตนเอง วิธีนี้จะแตกต่างกับสินค้าอื่น เช่น  มีบางบริษัท นำเสนอรายการอาหารทางอินเทอร์เน็ตให้แม่บ้านเลือกว่าวันนี้จะทำอาหารอะไร โดยให้แม่บ้านเลือกประเภทของวัตถุดิบที่จะนำมาปรุงอาหาร และระยะเวลาในการประกอบอาหารได้ด้วยตัวเอง โดยแม่บ้านจะเข้าไปเลือก เมนูอาหารและพร้อมกระบวนการต่าง ๆ ในการปรุงอาหาร
4.    การทำตลาดแบบนี้มีกลุ่มลูกค้าที่สามารถเข้าถึงอยู่ทั่วโลก และรวดเร็วทันที เพราะการสื่อสารทางระบบอินเตอร์เน็ต นี้สามารถเข้าถึงครอบคลุมได้ทุกพื้นที่ทั่วโลก ทำให้การทำกิจกรรมทางการตลาดเปิดกว้าง  และเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีอนาคต
5.    การทำธุรกิจแบบใหม่นี้ สามารถติดต่อค้าขาย แลกเปลี่ยนกันได้ตลอดเวลา ผู้ซื้อ ผู้ขายสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารกันได้ตลอด 365 วัน และตลอด 24 ชม. อัตราชั่วโมงการทำงานมากขึ้น ผลประกอบการก็ย่อมมีแนวโน้มมากขึ้นเช่นกัน  ดังนั้นผู้ประกอบการต้องมีสิ่งที่ต้องพิจารณา คือการให้ข้อมูลของสินค้าและบริการที่ถูกต้อง ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคจะรู้จักและเกิดความรู้ในสินค้า (Product Knowledge)  จากข้อมูลในเว็บไซต์ ต้องเป็นรายละเอียดที่ครบถ้วนในตัวสินค้าที่ จะนำเสนอ ไม่ว่าจะเป็น ราคา  รูปแบบ การจ่ายเงิน การส่งของ และรายการอื่น ๆที่จำเป็นให้มากที่สุด  เพราะบนเว็บไซต์  ไม่มีพนักงาน คอยตอบคำถาม และแนะนำสินค้า
6.    การทำธุรกิจออนไลน์เป็นกิจกรรมทางการตลาดแบบบูรณาการ คือการนำเทคนิคหลายรูปแบบเข้าด้วยกันตามความเหมาะสมบนเว็บไซต์ เช่นการโฆษณาสินค้า การขาย การชำระเงิน ขั้นตอนการส่งสินค้า กิจกรรมธุรกรรมต่างๆ จะอาศัยทำบนเว็บไซต์ทั้งหมด ดังนั้นผู้ที่จะทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ต้องศึกษา และทำความเข้าใจให้ดี
7.    เป็นการสื่อสารกัน 2 ทาง โดยผู้ซื้อกับผู้ขายสามารถโต้ตอบ สื่อสารข้อมูล และติดต่อกันได้ทันที ทั้งภาพ เสียง และรายละเอียดของสินค้า โดยต้นทุนต่ำที่สุด
8.    เป็นการทำธุรกิจที่ สะดวก แถมลงทุนต่ำมาก เพราะใช้บุคลากรจำนวนน้อย การติดต่อ สื่อสารทางธุรกรรม ทางการตลาดทำได้รวดเร็วและเปลี่ยนแปลง ข้อเสนอ และรายละเอียด เงื่อนไข เพิ่มเติมได้ง่าย  ส่วนถ้าเป็นการตลาดแบบเดิม  การจัดทำรายการสินค้า  หรือชิ้นผลิตภัณฑ์ของสินค้า กว่าจะพร้อมในการโฆษณาจะต้องใช้เวลานาน ทั้งยังใช้งบประมาณค่อนข้างสูง ยิ่งคู่แข่งมากขึ้น การโฆษณาย่อมมากขึ้นเท่าตัว แต่ถ้าใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยทำการตลาด เจ้าของธุรกิจ หรือนักการตลาดสามารถทำงานได้เร็วและ ต้นทุนต่ำ  สิ่งที่ดีอีกอย่างของการทำธุรกิจแบบนี้ คือ ไม่จำเป็นต้องมีสินทรัพย์ถาวรที่มีราคาแพง เช่น สำนักงาน อุปกรณ์สนับสนุนการทำงาน เฟอร์นิเจอร์ ค่าน้ำ ค่าไฟ  เพราะการทำธุรกิจในการติดต่อกับลูกค้าจะใช้ เพียงโปรแกรม และคอมพิวเตอร์เท่านั้น
9.    สินค้าบางประเภทลูกค้าสามารถดาวน์โหลด ไปใช้งานได้เลย เช่น เพลง ภาพยนต์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์  หรือแม้แต่สินค้า ประเภทอื่น ก็สามารถจัดส่งให้ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

                         ลักษณะลูกค้าในระบบ (Electronic Marketing)
                         การทำการตลาดในรูปอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำธุรกิจเป็นการดำเนินธุรกิจรูปแบบใหม่ที่คนไทยส่วนมากยังไม่คุ้นเคย แต่ถ้าเป็นต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศในแถบทวีปยุโรปจะนิยมกันมาก ซึ่งหลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า Ebay ซึ่งเป็น Website ที่ขายสินค้าในระดับโลกที่ได้รับความเชื่อถือในกลุ่มผู้ค้าขายทางอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันทั่วโลกมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ต หรือการเปิด Website มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น web ของกลุ่มการค้า กลุ่มบุคคลหรือแม้แต่การเปิด Website webbolg ส่วนมากก็มีมากขึ้น ปัจจุบันคงเพิ่มขึ้นประมาณเกือบ 50 ล้านคนและจะทวีมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะความรวดเร็ว ความมีประสิทธิภาพมากขึ้นและค่าใช้จ่ายต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้เกิดกลุ่มลูกค้า กลุ่มผู้บริโภคเกิดขึ้นอย่างมากมายทั่วทุกมุมโลก โดยกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มจะมีความต้องการที่แตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
                         1. ลูกค้าภายนอกประเทศ ลูกค้าประเภทนี้ส่วนมากเป็นกลุ่มที่อยู่นอกประเทศ เป็นกลุ่มองค์กรทางการค้า กลุ่มบุคคลที่ทำการค้า ปัจเจกบุคคลที่สนใจสินค้าจากประเทศไทย เพราะราคาค่อนข้างต่ำ แล้วนำไปจำหน่ายและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศเป็นสินค้าที่มีคุณภาพในระดับที่นานาชาติยอมรับได้ ลูกค้ากลุ่มนี้จะมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง เป็นกลุ่มที่น่าสนใจมาก แต่อย่างไรก็ตามการทำธุรกรรมกับลูกค้านี้ยังมีปัญหาเรื่องกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ค่าธรรมเนียม ค่าขนส่ง ความล่าช้า และเงื่อนไขอื่นๆ ที่ภาครัฐกำหนดขึ้น โดยเฉพาะธุรกรรมเกี่ยวกับการเงิน การขนส่งที่ค่อนข้างไม่ได้คุณภาพ ทำให้ผู้ประกอบการเสียโอกาสในการแข่งขันกับคู่แข่ง และขยายตลาดและไม่สามารถพัฒนาระบบการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ให้เติบโตได้
                         2. ลูกค้าภายในประเทศ สำหรับประเทศไทย ลูกค้าส่วนมากจะเป็นกลุ่มที่มีความรู้ทางด้านไอที พนักงานสำนักงานและกลุ่มวัยรุ่น เพราะประชากรส่วนใหญ่ยังเข้าใจและเข้าถึงการค้าขายทางอิเล็กทรอนิกส์ค่อนข้างต่ำ แต่อัตราหรือแนวโน้มจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เพราะเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตเพิ่มมากขึ้น   ส่วนสินค้าที่ผู้บริโภคให้ความสนใจในระบบค้าขายทางเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ สามารถแบ่งประเภทสินค้าได้ดังนี้
                         1. ประเภทรูปธรรม (Hard Goods) จะเป็นสินค้าที่สัมผัสได้โดยตรงมีลักษณะขนาดกะทัดรัดไม่สูงใหญ่มากสามารถส่งทางไปรษณีย์ได้
                         (1) ประเภทซีดี ซีดีเพลงต่างๆ ซีดีภาพยนตร์ ซีดีเกมส์ ซีดีสารคดี ซีดีตลก ละคร และอื่นๆ
                         (2) ประเภทเครื่องอุปโภค ประเภทกางเกง รองเท้า กระเป๋า เสื้อผ้า หมวก ถุงเท้า เข็มขัด และอื่นๆ
                         (3) ประเภทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ ซิมการ์ด อุปกรณ์เสริมมือถือ โน้ตบุ๊ก คอมพิมเตอร์
                         โดยสินค้าเหล่านี้ลูกค้าจะเข้าไปช้อปปิ้งทาง Website ต่างๆ แล้วเข้าไปเลือกผลิตภัณฑ์ สี รูปแบบ ราคา และขั้นตอนการสั่งซื้อ การชำระเงิน ตามรูปแบบของสินค้าที่กำหนดขั้นตอนการทำธุรกรรมในร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นๆ และรอรับสินค้าหลังจากชำระเงินเรียบร้อย
                         2. ประเภทนามธรรม (Soft Goods) สินค้าประเภทนี้จะเป็นสินค้าที่ไม่สามารถจับต้อง หรือสัมผัสได้ โดยลูกค้าสามารถกำหนดวิธีการรับสินค้าได้ด้วยตนเองทันทีหลังจากชำระเงินเรียบร้อย โดยการดาวน์โหลดข้อมูล และเนื้อหาบางอย่างในระบบอินเทอร์เน็ต ที่ร้านค้าได้เตรียมไว้ให้อยู่แล้ว เช่น การดาวน์โหลดภาพยนตร์ เพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง E-book โปรแกรมการใช้งานคอมพิวเตอร์ โปรแกรมฆ่าไวรัส และอื่นๆ ที่ร้านค้าเสนอขายผลิตภัณฑ์
รูปที่ 1.4 การหาข้อมูลโดย เสริซ์เอนจิ้น (Search engine2.3 เครื่องมือการทำตลาด
การทำการตลาดทางอีเล็กทรอนิกส์ เป็นรูปแบบทำงาน การค้าขาย การทำธุรกรรมทางการค้าได้บนเครื่องมือทางอีเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือที่คนส่วนมากถนัดมากที่สุดคือ   เครื่องคอมพิวเตอร์  การทำการตลาดเพื่อหารายได้ทางอินเตอร์สามารถทำได้ โดยทำเฉพาะบุคคล กลุ่มคนทั่วไป หรือทำเป็นองค์กรก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม กับความสามรถของตนเอง ปัจจุบันคนเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น เพราะการทำการค้าแบบนี้ทำง่าย ต้นทุนต่ำมาก เพียงแต่ผู้ทำการค้า ต้องศึกษาวิธีการบริหารจัดการ และวิธีการใช้โปรแกรมในการขาย การค้า และวิธีการควบคุมคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสนับสนุนในการทำงาน สามารถแบ่งได้ดังนี้
1. อีเมล์ (E - Mail) เป็นการส่งจดมาย ทางอีเล็กทรอนิกส์ ทดแทนการส่งจดหมายทางไปรษณีย์ ในสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี เราสามารถส่งข้อมูล ในรูปตังอักษร ภาพ ได้อย่างรวดเร็ว ได้มาก และประหยัดมากกว่าเดิม เป็นที่นิยมใช้กันมาก หากใครไม่มี อีเมล์คงลำบากพอสมควรในการติดต่อ สื่อสารในชีวิตประจำวัน แม้แต่เรื่องส่วนตัว และเรื่องการทำงานถ้าไม่สามารถสื่อสารทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ ย่อมมีปัญหาในการทำงาน รวมไปถึง ดำเนินชีวิตด้วย
                         อีเมล์ แอดเดรส (E-mail Address) หมายถึง ที่อยู่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือตู้รับจดหมายของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในการรับข้อมูลต่างๆ เช่น รายการเอกสาร รูปภาพ หรือแม้แต่ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ โดยมีคุณสมบัติที่ดีกว่าตู้รับจดหมายทั่วไป คือ รับข้อมูลแล้วส่งกลับ หรือส่งต่อได้ และส่งได้ในปริมาณไม่จำกัดจำนวน ส่วนแอดเดรส (Address) เป็นที่อยู่ของ E-mail เช่น somsong@gmail.com และส่วนประกอบของ E-mail Address ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
                         1.   คำว่า somsong คือ User name ของผู้ใช้ อาจจะใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น ชื่อของหน่วยงาน หรือชื่อโครงการที่ทำก็ได้ เพื่อให้เข้าใจว่าตัวเองคือใคร
                         2.   เครื่องหมาย @ (at sign) หรือ แอทซาย
                         3.   gmail คือ โดเมนเนม (Domain name) เป็น Address หรือที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ที่เราสมัครเข้าเป็นสมาชิก เช่น gmail hotmail ymail เป็นต้น
                         4.   .com เป็นส่วนสุดท้ายที่แสดงรหัส บอกประเภทขององค์กร บอกประเทศ และ .com ก็ย่อมาจาก commercial หมายถึง การบริการด้านการค้า ส่วนรหัสของประเภทต่าง ดังตัวอย่าง ดังนี้
                                .th หมายถึง Thailand ซึ่งอยู่ในประเทศไทย
                                .edu หมายถึง Education ซึ่งเป็นหน่วยงานสถานศึกษา
                                .org หมายถึง Organization ซึ่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานสาธารณะที่ไม่แสวงหาผลกำไร
                                .net หมายถึง Network ซึ่งเป็นหน่วยงานบริการในระบบเครือข่าย
                         โดยตัวอย่าง E-mail address เช่น adisak_16@hotmail.com pattanunn@yahoo.com  unchalee.1981@hotmail.com 
รูปที่ 1.5 ตัวอย่าง E – Mail

2. เว็บแบนด์เนอร์ (Web Banner) หรือระบบ Online Advertising เป็นลักษณะ การนำ banner การโฆษณาของธุรกิจ หรือบริษัทที่มีรายการโฆษณา เพื่อส่งเสริมการขาย ให้กลุ่มเป้าหมายได้เห็น เข้าใจ หรือการทำกิจกรรมทางการตลาดของบริษัทต้องการให้เผยแพร่ออกไปสู่สาธารณะชน โดยสามารถนำโฆษณานั้นมา ติดหรือวางใน เว็บไซต์ หรือ เว็บบอกส์ของเรา เมื่อมีคนเข้ามาค้นหาข้อมูล ในเว็บนั้น ถ้าเข้าไปคลิกที่ป้ายโฆษณานั้น ทางระบบก็จะทำการบันทึกรายการเพื่อจะสร้างรายได้ให้แก่เจ้าของเว็บไซต์นั้น หรือเป็นการสะสมแต้มรายเดือนจนครบของรายได้ ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันแล้วก็สามารถรับเงินได้เลยตามขั้นตอนที่กำหนด
   
รูปที่ 1.6 ตัวอย่าง Webblog ที่นำ Banner มาติด

3. เวิลด์ ไวด์ เว็บ (www) คือ การจัดทำเว็บไซต์เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาดเช่น เพื่อขายสินค้า เพื่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของบริษัท หรือให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจ ในผลิตภัณฑ์ ขององค์กร

รูปที่ 1.7 เว็บไซต์เพื่อเสนอขายสินค้า http://www.nbfashion.net/

                4. เว็บบอร์ด (Web board) คือ กระดานข่าวที่ ที่อำนวยความสะดวก และเปิดโอกาสให้ผู้คนเข้ามาเสนอแนวความคิด ฝากข้อความ หรือพูดคุยกัน ฝากคำถาม หรือตอบคำถามในเรื่องต่าง ๆ ที่สนใจ ส่วนในด้านการตลาดสามารถใช้เว็บบอร์ดเป็นที่สร้างกระแสความนิยมของสินค้าที่เราต้องการได้ ซึ่งจะทำให้ผู้คนรู้จักหรือทราบในเรื่องที่เราต้องการสื่อสาร ซึ่ง Web board ถือเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ ในอีกรูปแบบหนึ่ง (Medium) ในการประชาสัมพันธ์ ที่ต้นทุนต่ำที่สุด เพื่อการส่งเสริมภาพลักษณ์ของสินค้าที่ง่ายและเร็ว ได้ดีเช่นกัน
                                                        รูปที่ 1.8 ตัวอย่าง เว็บบอร์ด (Web board)

                5. Search Engine
                      Search Engine คือโปรแกรมที่สร้างขึ้นมา หรือออกแบบขึ้นมาเพื่อรองรับในการเป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Data) ต่างๆ บนระบบอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ต่างๆ อาจจะค้นหาได้ทั้งเป็นเอกสาร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวก็ได้ โดยการค้นหานั้น จะคีย์คำ หรือข้อความสั้นๆ เข้าไป หรือภาษาคอมพิวเตอร์เรียกว่า Keyword
                      Search Engine Marketing หมายถึง การทำการตลาดโดยผ่านระบบเซิร์ชเอ็นจิ้น โดยเว็บไซต์ยอดนิยมเช่น http://www.google.co.th/ http://www.sanook.com/  http://www.yahoo.com โดยหน้าของเว็บไซต์ดังกล่าว จะมีช่องให้ค้นหา โดยการเขียนหรือคีย์คำที่ต้องการเข้าไป เช่น พิมพ์คำว่า รองเท้า แล้ว Enter ครู่ต่อมา รายการที่เกี่ยวกับรองเท้า จะปรากฏให้เห็นมากมาย อาจจะเป็นข้อมูลในไฟล์รูป ไฟล์เอกสาร ไฟล์บีบอัด หรือไฟล์มัลติมีเดีย และรูปแบบอื่นๆ โดยข้อมูลเหล่านี้ จะมีการเก็บไว้ใน Server ตามเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อบริการให้ผู้ต้องการค้นหาข้อมูล เข้ามาค้นหาและแสดงผลออกมาให้ทราบอย่างรวดเร็วและสะดวก การทำงานของ Search Engine เป็นการทำงานโดยการป้อนคำ หรือเรียกว่า การ Keyword คำที่ต้องการลงไปใน Search Engine นั้นเอง แล้วระบบก็จะค้นหาข้อมูลออกมา แต่ข้อระวังคือ ต้องคีย์คำให้ถูกต้อง เพราะถ้าคีย์คำผิด ข้อมูลที่ได้ก็จะผิดพลาดเช่นกัน

รูปที่ 1.9 ตัวอย่าง Search Engine

                6. RSS
                      RSS ย่อมาจากคำว่า Really Simple Syndication คือ รูปแบบการบริการที่ออกแบบมาเพื่อบริการไว้ในระบบ Server อินเทอร์เน็ต โดยจัดทำไว้ในรูปข้อมูล ข่าวสาร เนื้อหานั้นอาจเป็นภาพหรืออักษร โดยจัดให้อยู่ในรูปแบบ XML สำเร็จรูปตามเป้าหมายของผู้ออกแบบ อาจจะเป็นรูปของการทำโฆษณาสินค้าหรือข่าวสารใหม่ๆ ที่ผู้เข้ามาใช้สามารถ Update ข้อมูลได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องเปิดเว็บไซต์เข้ามาค้นหา เพราะว่าระบบ RSS นี้จะเข้าไปในในเว็บไซต์อื่นๆ ได้อัตโนมัติ แต่อาจจะละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ได้
                      ส่วนในปัจจุบันองค์กรธุรกิจ ห้างร้าน บริษัทนิยมนำ RSS มาประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจ การบริการลูกค้า การโฆษณา การอธิบายคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์แก่ลูกค้า โดยการนำไฟล์ลิงค์ของ RSS โดยการ Copy ไฟล์มาไว้บนเว็บไซต์ เพื่อการโฆษณาได้ดีเช่นกัน บางครั้งก็สามารถนำ RSS มาสร้างรายได้ ได้เช่นกัน โดยการนำ RSS เกี่ยวกับสินค้ามาวางไว้บนเว็บของเจ้าของเว็บ และก็มีคนเข้ามาเปิดเว็บตามที่ RSS ได้โฆษณาไว้และตกลงสั่งซื้อสินค้านั้น ก็จะทำให้เจ้าของเว็บมีรายได้เข้ามา แต่ต้องทำตามเงื่อนไข
                     



รูปที่ 1.10 การนำ RSS ติดหน้าเว็บไซต์

หากเข้าไปยังเว็บไซต์ต่างๆหลายท่านคงเห็น RSS จนคุ้นเคย เพราะ RSS มีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ คือ สามารถลดขั้นตอนในการสร้างข้อมูลใหม่ๆ ของเจ้าของเว็บที่ต้องสร้างข้อมูลทุกครั้งที่ต้องการ Update แต่ RSS จะช่วยได้ในเรื่องของการดึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นทั้งภาพ อักษร เสียงได้โดยอัตโนมัติ ทำให้เว็บนั้นอุดมไปด้วยแหล่งข้อมูล ข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นสาระบันเทิงและฐานความรู้ ประสิทธิภาพของ RSS ที่ดีอีกอย่างคือ ผู้ใช้งานบนเน็ตบางครั้งไม่จำเป็นต้องตามค้นหาเว็บไซต์ต่างๆ ว่าข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องการ Update ข้อมูลไปอย่างไรบ้างแล้ว RSS ก็จะช่วย Update ข้อมูลให้ได้อัตโนมัติ โดยรูปแบบของ RSS จะช่วยให้ผู้แวะเวียนเข้ามาในเว็บไซต์สามารถรับข้อมูล ข่าวสารใหม่ๆ ได้ทันเหตุการณ์ตลอดเวลา แม้ว่าเจ้าของเว็บไม่ต้องเข้าไปบริหารจัดการก็ตาม ซึ่งลักษณะนี้คนที่ได้ประโยชน์ก็จะเป็นผู้บริโภคตามกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ รวมทั้งเจ้าของเว็บไซต์เองอีกด้วย  เราต้องการทราบว่า Web ไหนมีบริการเกี่ยวกับ RSS บ้างนั้น เราก็สามารถสังเกตตามหน้าเว็บไซต์ได้ว่าจะมีสัญลักษณ์เครื่องหมาย  XML   หรือเครื่องหมาย   RSS    ปรากฏอยู่มุมใดมุมหนึ่งของเว็บนั้น ตามที่ผู้ดูแลเว็บไซต์ต้องการ
                         7. Web blog
                         Web blog เป็นเว็บไซต์สำเร็จรูปที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้ามาสร้าง web blog ของตนเองได้ โดยการสมัครเป็นสมาชิก แล้วสามารถสร้าง Web blog ส่วนตัวได้ และสามารถเขียนบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ต้องการได้ อาจเป็นการบันทึกการเดินทาง ท่องเที่ยว เขียนความทรงจำ ตามที่ต้องการได้อย่างอิสระ ได้ทั้งเป็นตัวอักษร ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ได้ตามต้องการ
                         Web blog คือ blog ที่เขียนบันทึก เรื่องราวต่างๆ ตลอดจนเนื้อหา ภาพ เสียงส่วนตัว (Personal) ได้โดยไม่จำกัดเรื่องราว แต่ต้องไม่ขัดกับกฎหมาย ศีลธรรม และละเมิดบุคคลอื่นๆ Web blog มีรูปแบบลักษณะคล้ายๆ กับ Web Site โดยทั่วไป
                         แต่การเขียน blog ส่วนตัว สามารถสร้างได้เองโดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีขั้นตอนไม่ยุ่งยากมาก ส่วน Web Site ต้องเสียค่าใช้จ่าย และต้องอาศัยผู้ที่มีความสามารถเฉพาะด้านมาจัดทำ ดังนั้น Web blog จึงได้รับความนิยมจากบุคคลทั่วไปมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถบันทึกและเขียนบทความ เรื่องราวส่วนตัวได้อย่างอิสระ อีกทั้งยังสามารถนำมาทำร้านค้าขายสินค้าได้ และหารายได้อีกช่องทางหนึ่งได้ Web blog ที่นิยมในประเทศไทย เช่น http://www.oknation.net/ เว็บนี้สามารถเข้าไปสร้างได้ทันทีหลังจากสมัครสมาชิก ตัวอย่างเช่น http://www.oknation.net/blog/write/
                         ส่วน Web blog ของต่างประเทศเช่น http://www.blogger.com/ เว็บนี้ก็สามารถสมัครใช้งานได้ด้วยขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากเช่นกัน ตัวอย่างเช่น http://jobefair.blogspot.com/
                8. Facebook
                         เฟสบุ๊ค เป็นเว็บไซต์ที่เป็นตัวกลางที่สามารถเชื่อมโยงบุคคล หรือกลุ่มหลายๆ กลุ่ม สังคมของผู้ที่มีความสนใจในสิ่งเดียวกัน หรือมีความชอบสิ่งนั้นคล้ายๆ กัน โดยกลุ่มสังคมนั้นอาจจะอยู่ในเว็บไซต์เดียวกัน หรือต่างเว็บไซต์ก็ได้ แต่สามารถสื่อสาร และเชื่อมโยงกันได้จนกลายเป็นลักษณะสังคมออนไลน์ หรือคนทั่วไปเรียกว่า Social Network โดยเริ่มจากจุดเริ่มต้นจากบุคคลเพียงคนเดียว ส่งข้อมูลข่าวสารไปหาเพื่อน จากเพื่อนอีกคนก็จะกระจายออกไป เป็นลักษณะของการแตกตัวขยายวงกว้างออกไปเรื่อย จะกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ ตามจำนวน มีการยอมรับการเป็นเพื่อนที่มากขึ้นเรื่อยๆ นั้น โดยในแต่ละวันจะมีการส่งข้อมูล หรือการคีย์ข้อความ ลงในระบบ Facebook ก็จะเป็นเหมือนการอัพเดท แบ่งปันข้อมูลออกไปยังกลุ่มเพื่อน จนกลายเป็นสังคมออนไลน์ที่ขยายวงกว้างเรื่อยๆ
รูปที่ 1.11 Social Network ในเครือข่าย Facebook
                         จาก Social Network ของ Facebook เป็นการขยายกลุ่มสังคมที่แตกตัวออกไปเรื่อยๆ ของกลุ่มเพื่อนไปหาเพื่อน อาจเป็นเพื่อนในกลุ่มเรียน กลุ่มที่ทำงาน โดยการใช้ Facebook ในการติดต่อข่าวสาร ข้อมูลสาระต่างๆ ร่วมกัน เช่น ข่าวการเมือง ดาราที่ชื่นชอบ ด้านการเรียน การส่งงานอาจารย์ ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น
                         นอกจากการนำ Facebook มาใช้ประโยชน์ต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในการทำธุรกิจได้อย่าง ebay Auction ซึ่งเป็นการดำเนินธุรกิจการตลาดที่ใช้ Facebook มาทำการตลาดโดยการเผยแพร่รายการสินค้า โปรโมทผลิตภัณฑ์ที่เสนอขาย ตลอดจนความเคลื่อนไหวในการทำกิจกรรมทางการตลาดขององค์การธุรกิจได้อย่างกว้างขวางได้ทั่วโลก
รูปที่ 1.12  สมาชิกเครือข่าย Social Network ในระบบ Facebook
3. ส่วนผสมทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (The E-Marketing Mix)

รูปที่ 1.13   E-Marketing Mix

3.1 Product
                Product (ผลิตภัณฑ์) ผลิตภัณฑ์ในการนำเสนอบนเว็บไซต์หรือร้านค้าบนระบบออนไลน์นั้น จะเป็นผลิตภัณฑ์มีอยู่จริงเหมือนร้านค้าทั่วไป เช่น ลักษณะรูปทรง ราคา ขนาด เหมือนจริงทุกอย่าง แต่จะแตกต่างกันตรงที่ไม่สามารถสัมผัสตัวสินค้าได้เท่านั้น จึงมีบางคนเรียกสินค้าประเภทนี้ว่าสินค้าเสมือนจริง แต่ก็มีวิธีการสัมผัสที่แตกต่างจากสินค้าทั่วไป
                สินค้าและบริการในร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นจะมีลักษณะสินค้าไม่แตกต่างจากร้านค้าในร้านโชห่วย ซุปเปอร์มาเก็ตทั่วไป จะแตกต่างกันตรงที่ร้านค้าประเภทนี้ไม่มีพนักงานคอยให้คำแนะนำและคอยตอบคำถาม และสามารถบริการตนเองและหาคำตอบในร้านค้านั้นเอง ส่วน Product ในร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
                (1) Services Product (ผลิตภัณฑ์บริการ) สินค้าประเภทนี้ในทางการขายทั่วไปจากเดิมที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าจากร้าน ถ้าทั่วไปเรียกว่าการบริการหลังการขาย เช่น การซื้อโทรทัศน์ ทางร้านรับประกันซ่อมฟรีเป็นระยะเวลา 1 ปี หลังการซื้อไป ลักษณะแบบนี้ผู้บริโภคทั่วไปคุ้นเคยดี แต่การบริการของสินค้าในการตลาดอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง คือ สินค้าประเภทนี้ไม่ได้ขายสินค้าและบริการหลังการขาย แต่ผู้ขายสร้างรูปแบบการบริการนี้ขึ้นมา เป้าหมายรอบริการผู้ที่เข้ามาในเว็บไซต์ การบริการนี้เป็นการอำนวยความสะดวกในการใช้ระบบเทคโนโลยีมากกว่า การบริการที่กำลังได้รับความนิยมขณะนี้ เรียกว่า Search Engine (เสริซ์เอนจิ้น) เป็นการบริการที่ Save รวบรวมข้อมูลเนื้อหาสาระต่างๆ จากทั่วโลกไว้ในเว็บไซต์ โดยผู้บริโภคหรือผู้ใช้อาจจะเข้าไปในเว็บไซต์ http://www.google.co.th แล้วก็คีย์ข้อมูลค้นหาลงไปในระบบแล้ว Enter หลังจากนั้นข้อมูลที่ค้นหาก็จะปรากฎขึ้นมาทันที
                (2) Hard Product (ผลิตภัณฑ์หนัก) ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ผู้จำหน่ายอาจจะมีบริษัทและร้านค้าปกติอยู่แล้ว แต่ต้องการให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่แพร่หลายและขยายตลาดไปกว้างมากขึ้น โดยนำผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ มาเปิดร้านค้าบนเว็บไซต์ หรือผู้ประกอบการบางรายที่เปิดร้านค้าบนเว็บไซต์ก็ไม่มีร้านค้าหรือโกดังเก็บสินค้าด้วยตัวเอง แต่ถ้ามีลูกค้าสั่งซื้อสินค้าก็จะติดต่อสั่งซื้อจากร้านค้าอีกทอดหนึ่ง โดยให้จัดส่งสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นให้แก่ลูกค้าเอง
                การใช้บริการหรือสั่งซื้อสินค้าจากเว็บไซต์นั้นผู้บริโภคหรือผู้ซื้อต้องศึกษาข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ตามเงื่อนไขที่ปรากฏบนเว็บไซต์ให้เข้าใจ เพราะสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นจะบวกเพิ่มค่าขนส่งตามเงื่อนไขหรือประเภทของสินค้าเข้าไว้ด้วย หรือบางครั้งอาจเกิดปัญหา เช่น จ่ายค่าซื้อสินค้าไปแล้วได้สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน สินค้าเสื่อมคุณภาพ สินค้าได้รับไม่สมบูรณ์ เกิดความล่าช้าในการส่งหรือแม้แต่ถูกหลอกให้ซื้อโดยไม่ได้รับสินค้า ดังนั้นก่อนที่จะดำเนินการซื้อต้องศึกษาจนแน่ใจว่าจะไม่เกิดความเสียหายและผิดพลาดขึ้น ส่วนผู้ขายหรือเจ้าของเว็บไซต์เองก็ควรมีจรรยาบรรณ มีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า เพราะถ้าลูกค้าไม่มีความเชื่อถือแล้วการทำธุรกิจลักษณะนี้ก็เติบโตค่อนข้างยากเช่นกัน
                (3) Soft Product (ผลิตภัณฑ์เบา) ผลิตภัณฑ์บนโลกออนไลน์ประเภทนี้ค่อนข้างพิเศษกว่าสินค้าอื่นๆ โดยทั่วไปคือ ผู้ขายไม่สามารถดำเนินการส่งสินค้าให้ลูกค้าได้เอง เพราะผู้ซื้อสามารถเข้ามาหาข้อมูล ศึกษารายละเอียดได้ด้วยตัวเองและจ่ายค่าธรรมเนียมหรือสั่งซื้อเอง และเมื่อทำตามขั้นตอนอย่างถูกต้องแล้ว สามารถส่งสินค้าได้ด้วยตนเอง ที่เรียกว่า “ดาวน์โหลด” สินค้าประเภทนี้อาจเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมฆ่าไวรัส โปรแกรมบัญชี โปรแกรมการบริหาร เกมส์ เพลง ภาพยนตร์ และอื่นๆ ได้ทันที แต่ผู้ขายต้องนำข้อมูลรายละเอียดรวมทั้งเตรียมขั้นตอนต่างๆ ที่จะนำมาไว้บริการให้ลูกค้าดำเนินการเองได้อย่างครบถ้วน จึงจะทำให้การค้าขายประสบความสำเร็จ
                การเปิดร้านค้าขายสินค้าประเภทนี้การลงทุนค่อนข้างต่ำมาก เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ประเภท Hard Product เพราะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ เช่น ค่าแรงงาน ค่าน้ำ ค่าก่อสร้าง ค่าเก็บสินค้า ค่าเสื่อมราคา ค่ารักษาความปลอดภัย รวมทั้งค่าจัดส่ง เพียงแต่ผู้ประกอบการต้องลงทุนดูแลในเรื่องการจัดการเรื่องโปรแกรม เทคนิค เทคโนโลยี ให้พร้อมและสมบูรณ์ที่สุดต่อการให้บริการของลูกค้า

3.2 Price
                Price (ราคา) การตั้งราคาสินค้า ต้องเริ่มวางแผนตั้งแต่การกำหนดตัวผลิตภัณฑ์ (Product) ที่จะนำมาจำหน่าย โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้อย่างชัดเจนก่อน จึงดำเนินการสำรวจสินค้า การสำรวจราคาสินค้าอาจจะศึกษาข้อมูลได้จากแหล่งผลิตพ่อค้าคนกลาง ผู้ขายปลีก แล้วนำข้อมูลนั้นมาเปรียบเทียบราคากับเว็บไซต์อื่นๆ ที่กำหนดราคาจำหน่ายไว้ขาย แล้วจึงมากำหนดราคาขายในเว็บไซต์ของเรา การตั้งราคาขายสินค้าในตลาดอิเล็กทรอนิกส์นั้น ควรตั้งราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า สินค้าบางประเภทถ้าตั้งราคาต่ำมากเกินไปหวังจะให้ขายได้มากๆ อาจจะเป็นผลตรงกันข้าม ผู้บริโภคอาจจะมองว่า เป็นสินค้าคุณภาพต่ำที่เสื่อมคุณภาพ ถ้าตั้งราคาสูงกว่าคู่แข่ง ก็ต้องอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจตรงกันว่า สินค้าของเรามีคุณภาพเหนือกว่าคู่แข่งอย่างไร ประโยชน์ในตัวสินค้ามีมากกว่าสินค้าประเภทเดียวกันอย่างไร ยกตัวอย่างสินค้าประเภทโทรศัพท์มือถือ ที่นำเข้าจากประเทศจีน เป็นสินค้าที่ราคาถูก คุณภาพต่ำ แต่มีองค์ประกอบที่ครบทุกอย่างเหมือนกับโทรศัพท์ที่ราคาสูง และมีคุณภาพอย่างโนเกีย ลูกค้าส่วนมากนิยมซื้อเพราะราคาต่ำ แต่ประโยชน์ใช้งานเท่ากัน ส่วนจะใช้ได้นานแค่ไหน หรือรับประกันคุณภาพหรือไม่ ลูกค้าก็ยอมรับได้ เพราะเข้าใจว่าสินค้ามีคุณสมบัติของสินค้า
                แต่ข้อสังเกต และน่าพิจารณาการตั้งราคาสูงๆ มากเกินไป ในตลาดอิเล็กทรอนิกส์นั้น ลูกค้าจะไม่ค่อยนิยมมากนัก เพราะยังไม่มั่นใจในการทำธุรกิจ ว่าจะเชื่อถือได้มากแค่ไหน โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา ส่วนมากจะเป็นความซื่อสัตย์ของผู้ประกอบการ

3.3 Place
                ร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ จะมีสถานที่ตั้งที่แตกต่างจากร้านค้าทั่วไป ไม่สามารถสัมผัสได้ แต่สามารถเข้าไปหาข้อมูล เลือกซื้อ เลือกชมสินค้า และบริการได้ตลอดเวลา
                สถานที่ตั้งของตลาดอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง URL หรือ Domain name เรียกอีกอย่างคือ ชื่อของเว็บไซต์นั่นเอง เป็นที่อยู่ของตลาด หรือของร้านค้า เช่น PantipMarket.com  Thaisecondhand.com
                ชื่อเว็บไซต์ หรือโดเมนเนม (Domain name) นอกจากจะเป็นที่อยู่ของตลาดแล้ว ยังเป็นยี่ห้อได้อีกด้วย เช่น การตั้งชื่อของ Thaisecondhand.com ผู้บริโภคเข้ามาเว็บไซต์มีความหมายชัดเจนว่า เป็นสินค้ามือสอง ผู้สนใจสินค้าที่ใช้แล้ว ก็ควรเข้ามาค้นหาสินค้าที่ร้านนี้ ผู้ประกอบการทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ก่อนที่จะตั้งร้านค้า ต้องศึกษาให้ดีก่อนว่าจะตั้งสถานที่อย่างไรให้เหมาะกับสินค้าที่จะทำธุรกิจ เนื่องจากการตั้งชื่อร้าน ก็คือการแจ้งสถานที่ตั้ง เพื่อให้การกำหนดสถานที่จัดจำหน่ายสินค้าให้ประสบความสำเร็จ ควรคำนึงถึงหลักในการตั้งชื่อร้าน ในที่นี้จะแนะนำ ข้อควรพิจารณาในการกำหนดสถานที่จัดจำหน่าย ดังนี้
                (1)    ชนิดและประเภทของสินค้า
                (2)    กลุ่มเป้าหมายของลูกค้าที่จะทำการตลาด
                (3)    ชื่อสั้น ง่าย และสะดวกในการค้นหา

                ระยะเริ่มแรก ของการตั้งร้านค้าบนเว็บไซต์ เพื่อทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ควรก้าวเดินอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป พยายามทดลอง ศึกษา เรียนรู้ไปเรื่อยๆ เพราะการทำตลาดวิธีนี้ค่อนข้างนำเทคนิกต่างๆ มาใช้มาก ขณะเดียวกันลูกค้าเดิมยังไม่คุ้นเคยกับการตลาดแบบนี้ เพราะค่อนข้างใหม่ ต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า ไม่มีความแตกต่างกันมาก การติดต่อกับลูกค้า เช่น การสั่งซื้อ การชำระเงิน การจัดส่ง การรับสินค้า หรือการให้บริการ ควรใช้แบบเดิมไปก่อน แล้วค่อยๆ แทรกวิธีการตลาดแบบใหม่ๆ เข้าไป จนลูกค้าคุ้นเคย และเริ่มเข้าใจในการตลาดอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้องแล้ว จึงทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มตัว
3.4 Promotion
                Promotion เป็นการประชาสัมพันธ์หลังจากจัดร้านค้าบนออนไลน์เรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการ หรือผู้ทำการตลาด หรือแม้แต่เว็บมาสเตอร์ ต้องศึกษาความเป็นธรรมชาติของระบบ และศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ที่จะทำการโฆษณาให้ลึกซึ้ง เช่น ชื่อเว็บ การใช้คำ สี รูปแบบ เทคนิกการลงทะเบียนเข้าใช้ การสั่งซื้อสินค้า การเขียนคำอธิบายเกี่ยวกับสินค้า สั้น ชัดเจน ได้ใจความ (Short Description) การใช้คำสั่ง (Meta Tag) สิ่งเหล่านี้จะทำให้ระบการค้นหา (Spider) ได้ทราบ และค้นหาในเครือข่ายออนไลน์ได้ง่ายขึ้น
                การโฆษณาประชาสัมพันธ์ร้านค้าบนเว็บไซต์ นอกจากการปรับแต่ง คำเด่น สีสวย ภาพสะดุดเด่นตา ทำป้ายโฆษณา รายละเอียดของสินค้า หรือแม้แต่การทำลิงค์ แลกกับเว็บอื่นๆ ในเว็บร้านค้าของเราแล้ว ยังไม่พอ ควรทำการโฆษณาแบบเดิมนอกเว็บไซต์ด้วยเช่นกัน คือ การจัดเตรียมทำเอกสาร และรายการสินค้าของบริษัท ด้วยการจัดทำแคทตาล๊อก ใบรายการสินค้า รายการจัดงานโปรโมชั่น โปสเตอร์โฆษณา เพื่อแจกและลงโฆษณาในสื่อแขนงต่างๆ เช่น นิตยสาร สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ และอื่นๆ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะโฆษณาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับตัวสินค้าของกิจการแล้ว ยังสร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์และองค์กรธุรกิจได้เป็นอย่างดี

3.5 Social Network
                สังคมแห่งเครือข่าย (Social Network) หมายถึง สังคมที่มีการสื่อสาร (Communication) การออกไป แล้วเกิดการเชื่อมโยงในข้อมูลต่างๆ ที่ส่งออกไป โดยมีผู้รับสาร และเกิดการตอบโต้ โดยการสัมพันธ์ (Relation) กันแบบ 2 ทาง (2 way) สังคมของ Social Network นั้น เป็นการติดต่อสัมพันธ์กัน โยงเชื่อมกันทั่วโลก เรียกได้ว่าเกือบจะทุกภาษา และเชื้อชาติในโลกใบนี้ เป็นระบบที่สร้างขึ้นมาที่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบอื่นๆ ได้ โดยการเปิดช่องทางการเชื่อมกัน หรือที่เรียกว่า API ทำให้นักพัฒนาเว็บไซต์ พยายามสร้างเว็บไซต์ที่มีลักษณะสากล และอำนวยความสะดวก และสนองความต้องการของผู้คนได้มากขึ้น เช่น Facebook Hi5 Twitter เป็นต้น

รูปที่ 1.14 เครือข่าย Social Network ในการตลาดอิเล็กทรอนิกส์

                ด้วยเหตุผลที่ระบบ Social Network ที่สมาชิกมากขึ้นเรื่อยๆ นั้น นักการตลาดยุคใหม่ เริ่มให้ความสนใจเข้ามาทำการตลาดในระบบออนไลน์นี้มากขึ้น เริ่มจากกลุ่มผู้สนใจในเรื่องเดียวกัน ก็จะส่งข่าวแจ้งรายการต่างๆ ให้ทราบ และเริ่มนัดหมายทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้เกิดการให้ความรู้ ความเข้าใจในสาระ และสิ่งที่สนใจเป็นพิเศษในกลุ่มเดียวกัน โดยนำหลักการตลาดพื้นฐานเข้ามาทำการตลาดบนออนไลน์ เช่น การแสดงภาพของผลิตภัณฑ์ เสนอข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า เสนอราคา โปรโมทโฆษณาได้ ทั้งภาพ เสียง และภาพยนตร์ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเครือข่ายเดียวกันหรือนอกเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว


3.6 Sale Promotion

รูปที่ 1.15 หน้าเว็บ Marketathome.com

                หลังจากที่ผู้ประกอบการร้านค้า เปิดเว็บไซต์ของสินค้า จะต้องทำการบริหารจัดการร้านค้าให้น่าสนใจ เพื่อสร้างแรงดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาชมสินค้า และทำให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าในร้าน ดังนั้น ผู้ดูแลด้านการตลาด หรือผู้ทำกิจกรรมทางการตลาดบนเว็บไซต์ ต้องจัดรายการสินค้า โปรโมชั่นการขาย    การแสดงรายการส่งเสริมการขายไว้บนเว็บไซต์ให้ชัดเจน อาจเป็นการลด แลก แจก แถม ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่ เปิดเทอม ปิดเทอม ก็สามารถแสดงรายละเอียดต่างๆ หรือแก้ไขรายการให้ทันยุค ทันเหตุการณ์ เช่น ช่วงกีฬาซีเกมส์ กีฬาฟุตบอลโลก เพื่อเป็นการกระตุ้นยอดขายให้มากขึ้น ก็โดยอาศัยการโฆษณาส่งเสริมการขายบนเว็บไซต์ให้น่าสนใจมากขึ้น

3.7 Customer Service
                การบริการลูกค้า (Customer Service) ผู้ดูแลระบบ หรือบริหารการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ต้องเตรียมรายละเอียดไว้บริการลูกค้า ให้ได้รับความสะดวก และได้ประโยชน์มากที่สุด เมื่อเข้ามายังเว็บไซต์ เพื่อให้ลูกค้าสามารถดาวน์โหลดไฟล์มาใช้ได้ และกำหนดรูปแบบ และรายละเอียดขั้นตอนในการดาวน์โหลดไว้ เช่น กำหนดให้ผู้บริโภค หรือลูกค้าชำระเงินก่อน และจะปรากฏรหัสดาวน์โหลดขึ้นมา ลูกค้าก็สามารถดาวน์โหลดรายการนั้นไปใช้ได้ ตัวอย่างเช่น การดาวน์โหลดจาก http://thai.langhub.com ซึ่งเป็นการบริการดาวน์โหลดไฟล์เสียง และวีดีโอฝึกการเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเองฟรี สำหรับคนไทยหรือลูกหลานคนไทยที่อยู่ต่างประเทศที่รู้ภาษาไทย ที่ต้องการเรียนภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน เช่นการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจ การท่องเที่ยว โดยผู้สนใจก็สามารถเข้าไปยังเว็บไซต์ เลือกรายการที่ต้องการ ดาวน์โหลดได้ฟรี ส่วนถ้าจะทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ก็สามารถนำรูปแบบ และวิธีการนี้ นำไปประยุกต์เป็นแนวทางในการบริการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าได้เป็นอย่างดี

รูปที่ 1.16 เว็บไซต์ http://thai.langhub.com/ บริการดาวน์โหลด

3.8 Site Security
                         การดำเนินธุรกิจบนระบบออนไลน์ จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการป้องกัน รักษาความปลอดภัยในการที่อาจจะมีผู้ไม่หวังดีเข้ามาโจรกรรมข้อมูล ในระบบไปหาประโยชน์ในทางมิชอบ จนทำให้เกิดความเสียหายต่อการทำธุรกิจ และส่วนตัวของผู้ประกอบการ หรือแม้กระทั่งข้อมูลของลูกค้า ก็อาจได้รับการโจรกรรมไปด้วย
                         ในปัจจุบัน หน่วยงานทุกองค์กร ไม่ว่าจะภาครัฐหรือว่าเอกชน ต่างก็นิยมเปิดเว็บไซต์เป็นของตนเองอย่างมากมาย แต่ละหน่วยงาน ล้วนมีเว็บไซต์ของตนเองแทบทั้งสิ้น การเปิดเว็บไซต์นับว่าสำคัญและจำเป็นมากในการทำธุรกิจ เพราะเป็นช่องทางการติดต่อ การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ในกิจการของธุรกิจต่อสาธารณะชน โดยเฉพาะผู้บริโภคที่จะเข้ามาเลือกซื้อสินค้า ดังนั้น จึงเกิดมีกลุ่มมิจฉาชีพที่จะคอยจ้องขโมยข้อมูล เพื่อนำไปหาประโยชน์ตลอดเวลา เจ้าของธุรกิจจึงได้กำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยไว้เบื้องต้น สำหรับการดำเนินธุรกิจในตลาดอิเล็กทรอนิกส์ไว้ดังนี้
           1.   การจะเข้ามาค้นคว้า หรือติดต่อกับเว็บไซต์นั้น ก่อนอื่นต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อน จึงเข้ามาในเว็บไซต์ได้
            2.   ถ้าเข้ามาใช้เว็บไซต์ครั้งต่อไป ต้องใส่ชื่อและรหัสผ่านทุกครั้ง ถ้าใส่ชื่อและรหัสผ่านไม่ถูกต้องก็เข้าระบบไม่ได้
                         3.   ผู้ที่เข้ามาใช้งานในระบบออนไลน์ ไม่ควรเปิดเผยข้อมูล และรหัสส่วนตัวแก่คนอื่น ไม่ว่ากรณีใดๆ
                         4.   การตั้งรหัสผ่าน ควรตั้งให้เราจำได้ง่าย แต่ให้ยากสำหรับคนอื่นที่จะคาดคะเนได้
                         5.   ไม่ควรตั้งรหัสผ่านอย่างเดียวกัน มาใช้กับเว็บไซต์หลายเว็บไซต์ เช่น gmail hotmail หรือ yahoo ถ้าใช้รหัสผ่านเดียวกันหลายเว็บ จะเป็นการเปิดโอกาสให้พวกแฮคเกอร์ สามารถเข้ามาถึงระบบได้ง่ายมากขึ้น
3.9 Personalization Service
                         การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการทำการตลาดแบบบริการประชิดตัว โดยระบบเว็บไซต์ จะมี ไฟล์ฐาน การเก็บข้อมูลขนาดจิ๋ว (.txt) ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลของลูกค้าไว้ อาจจะเก็บข้อมูลการสมัครเป็นสมาชิก หรือเก็บข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าไว้ในระบบ และถ้าลูกค้าคนเดียวเข้ามาใช้งานระบบ File Cokies ประเภทนี้ จะทำการสรุปประมวลผลว่าลูกค้ารายนี้ นิยมหรือสนใจสินค้าประเภทใด เป็นลักษณะการเชื่อมโยงข้อมูลเดิม แล้วก็นำเสนอรายการสินค้าประเภทนั้น หรือผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงไปแจ้งข่าวแก่ลูกค้า พร้อมทั้งข้อเสนอพิเศษอื่นๆ ไปให้ลูกค้ารายนั้น การบริการลักษณะนี้จะทำให้ลูกค้าได้รับข่าวสารเสมอ จนเกิดความประทับใจและคุ้นเคยกับองค์กร จนกลายเป็นความไว้ใจ และกลายเป็นลูกค้าไปในที่สุด
รูปที่ 1.17 รายการสินค้าที่เสนอขายบนเว็บไซต์ และรายการซื้อจะเก็บไว้ในระบบของเว็บไซต์
                         การนำข้อมูลรายละเอียดของลูกค้าในด้านต่างๆ มาจัดลำดับและดำเนินการจัดเก็บอย่างเป็นระบบในฐานระบบคอมพิวเตอร์ เป็นประโยชน์มากในการนำมาวิเคราะห์ ในการจัดการผลิตภัณฑ์ ด้านการตลาด และการจัดการ และพัฒนาไปสู่การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ CRM (Customer Relation Management) ยกตัวอย่างเช่น บริษัท อีซีบาย จะมีฐานข้อมูลจากการสมัครขอสินเชื่อของลูกค้าไว้ เพื่อประกอบในการตัดสินใจในการปล่อยสินเชื่อ ทั้งปัจจุบันและในอนาคต ว่าลูกค้าแต่ละรายสนใจสินเชื่อประเภทใด และลูกค้าสนใจสินค้าประเภทใด สามารถเชื่อมโยง หรือดึงข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการค้นหาข้อมูลใหม่ ลักษณะนี้จะทำให้ลดขั้นตอนในการทำงาน และประหยัดต้นทุนในการบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม

คำถามท้ายบท
1.  การตลาดอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างจากรูปแบบของการตลาดแบบดั้งเดิมอย่างไร
2.  ลักษณะพิเศษของการตลาดอิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง
3.  ลักษณะพิเศษของการตลาดอิเล็กทรอนิกส์มีข้อดี และข้อเสียอย่างไรบ้าง
4.   จงอธิบายวงจรของการดำเนินงานของการตลาดอิเล็กทรอนิกส์มาพอเข้าใจ
5.   เครื่องมือในการทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง


3 ความคิดเห็น:

  1. ยินดีต้อนรับสู่ FRANK WOODLOAN จัดหา INC. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแพคเกจการจัดสวัสดิการที่จะเสนอข้อเสนอทางธุรกิจและสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีอัตราดอกเบี้ย 2% โดยไม่ต้องตรวจสอบเครดิตไม่มี นี้จะช่วยให้คนบรรลุคน objectives.Interested การเงินของพวกเขาควรจะส่งอีเมลถึงเราเมื่อ: frankwoodloan@googlemail.com
    * สินเชื่อส่วนบุคคล (ไม่มีหลักประกัน)
    * สินเชื่อธุรกิจ (ไม่มีหลักประกัน)
    * รวมหนี้เงินกู้
    * การปรับปรุงบ้านของคุณ
    การประยุกต์ใช้:
    1) ชื่อ:
    2) คำนำหน้า (นาย, นาง, (MS)
    3) ชื่อ:
    4) นามสกุล:
    5) ที่อยู่:
    6) ประเทศ:
    7) สถานะ:
    8) เบอร์โทรศัพท์:
    9) มือถือ:
    10) อาชีพ:
    11) จำนวนเงินที่จำเป็นในขณะที่สินเชื่อ:
    12) ระยะเวลาของเงินให้กู้ยืม:
    13) วัตถุประสงค์ของการกู้ยืมเงิน:
    14) คุณได้นำไปใช้ก่อน
    คำตอบทั้งหมดจะถูกส่งไป: E-mail: อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของ 2% โดยไม่มีการรับประกันใด ๆ เพิ่มเติม นี้จะช่วยให้คนบรรลุคน objectives.Interested การเงินของพวกเขาควรจะส่งอีเมลถึงเราเมื่อ: frankwoodloan@googlemail.com เมื่อเราได้รับการร้องขอจากนั้นเราจะดำเนินการสมัครขอสินเชื่อของคุณ
    เพื่อขออนุมัติ
    ขอแสดงความนับถือ
    นายแฟรงก์ไม้
    ผู้ประกาศข่าว

    ตอบลบ
  2. อาจสงบสุขของพระเจ้าอยู่กับคุณ
    คุณจะเป็นนักธุรกิจหรือผู้หญิง? คุณอยู่ในใด ๆ
    ความเครียดทางการเงินหรือไม่หรือคุณต้องการเงินทุนที่จะเริ่มต้นขึ้น
    ธุรกิจของตัวเองของคุณ?
    A) การขยายตัวของธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล
    B) ธุรกิจเริ่มต้นขึ้นและการศึกษา
    C) รวมหนี้
    ชื่อ: ..........................................
    ประเทศ: .........................................
    ที่อยู่: ..........................................
    สถานะ: .......................................
    เพศ: ................................................ ...
    อายุ ................................................. ....
    วงเงินกู้ที่จำเป็น: .........................
    เงินกู้ระยะเวลา: ...................................
    หมายเลขโทรศัพท์มือถือส่วนบุคคล: .......................
    รายได้รายเดือน: .....................................
    ขอขอบคุณและขอให้พระเจ้าคุ้มครอง
    อีเมล์: marycoleloanscompany3@gmail.com

    ตอบลบ
  3. อาจสงบสุขของพระเจ้าอยู่กับคุณ
    คุณเป็นนักธุรกิจหรือหญิง? คุณอยู่ในใด ๆ
    ความเครียดทางการเงินหรือไม่หรือคุณต้องการเงินทุนเพื่อเริ่มต้นขึ้น
    ธุรกิจของคุณเอง?
    A) การขยายตัวของธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล
    B) ธุรกิจและการศึกษาเริ่มต้นขึ้น
    C) รวมหนี้
    ชื่อ: ..........................................
    ประเทศ: .........................................
    สถานที่ตั้ง: ..........................................
    สถานะ: .......................................
    เพศ: ................................................ ...
    อายุ ................................................. ....
    การกู้ยืมเงินที่ต้องใช้: .........................
    ระยะเวลากู้: ...................................
    หมายเลขโทรศัพท์มือถือส่วนบุคคล: .......................
    รายได้ต่อเดือน: .....................................
    ขอขอบคุณและขอให้พระเจ้าคุ้มครอง
    อีเมล์: marycoleloanscompany3@gmail.com

    ตอบลบ